3.1 สมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบ
จากการศึกษาสมบัติต่างๆ
ของธาตุในตารางธาตุ เช่น ขนาดอะตอม พลังงานไอออไนเซชัน และค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี
จะพบว่าสมบัติเหล่านี้มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจากซ้ายไปขวาในแต่ละคาบ
หรือจากบนลงล่างในแต่ละหมู่ค่อนข้างสม่ำเสมอ ต่อไปจะศึกษาสมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร
โดยการศึกษาจุดหลอมเหลว จุดเดือดและความเป็นกรด -
เบสของสารประกอบคลอไรด์และออกไซด์ของธาตุในคาบที่ 2 และ 3 จากข้อมูลในตางราง 3.1
ตารางที่ 3.1
สมบัติบางประการของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุในคาบที่ 2 และคาบที่ 3
* ใช้ความดันทำให้หลอมเหลว
** ระเหิดก่อนหลอมเหลวที่ความดัน
1 บรรยากาศ
*** ปรากฏอยู่ในรูปโมเลกุลของธาตุ
สมบัติของสารประกอบคลอไรด์เหมือนหรือแตกต่างจากสมบัติของสารประกอบออกไซด์อย่างไร
ให้พิจารณาจากตาราง 3.2
ตารางที่ 3.2 สมบัติบางประการของสารประกอบออกไซด์ของธาตุในคาบที่
2 และคาบที่ 3
* ใช้ความดันทำให้หลอมเหลว
** ระเหิดก่อนหลอมเหลวที่ความดัน 1 บรรยากาศ
*** ปรากฏอยู่ในรูปโมเลกุลของธาตุ
** ระเหิดก่อนหลอมเหลวที่ความดัน 1 บรรยากาศ
*** ปรากฏอยู่ในรูปโมเลกุลของธาตุ
เมื่อพิจารณาจุดหลอมเหลว จุดเดือด และความเป็นกรด -
เบสของสารประกอบคลอไรด์และออกไซด์ของธาตุในคาบที่ 2 และคาบที่ 3 แล้วควรสรุปได้ว่า
จุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสารประกอบทั้งสองกลุ่มมีแนวโน้มคล้ายกันสำหรับคลอไรด์และออกไซด์ของโลหะที่ละลายน้ำจะได้สารละลายมีสมบัติเป็นกลางและเบสตามลำดับ
ส่วนคลอไรด์และออกไซด์ของอโลหะเมื่อละลายน้ำจะได้สารละลายที่มีสมบัติเป็นกรด
VDO เรื่องสมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น